Focus

รฟท.จับมือ CRSC ยักษ์ใหญ่จีน เปิดหวูดรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร

12

January

2022

28

January

2021

            โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ถือเป็นหนึ่งในเส้นทางสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งระบบรางในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา เพื่อช่วยยกระดับโลจิสติกส์ภาคใต้ของไทยพัฒนาและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคท้องถิ่น โดยมีระยะทาง 420 กิโลเมตร และความเร็วรถไฟสูงสุด160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

           โครงการดังกล่าวยังนับเป็นมิติใหม่ของการประมูลติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมในรูปแบบการประกวดราคานานาชาติ (InternationalBidding) โดยมี China RailwaySignalling&Communication (CRSC) ผู้นำด้านระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมจากจีนเป็นผู้ชนะการเสนอราคา ในนาม The Consortium of CRSC Research and DesignInstitute Group Co., Ltd and CRSC International Company Limited มูลค่าการก่อสร้างทั้งสิ้น6,210 ล้านบาท

           พิธีลงนามเซ็นสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพรจัดขึ้นที่โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27ธ.ค. 2562 โดยมี สวี จงเสียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารCRSC บินมาร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามเซ็นสัญญาร่วมกันระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) โดย วรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ รฟท. กับ หลิวเลี่ยงผู้จัดการทั่วไปศูนย์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก CRSC  

           วรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรฟท. กล่าวว่า โครงการรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร เป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งระบบรางของประเทศไทยโดยระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมในโครงการนี้ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปีเมื่อแล้วเสร็จจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานส่วนหนึ่งที่สำคัญของระบบรางที่ทำให้สามารถเปิดเดินรถไฟทางคู่ได้อย่างปลอดภัยและก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทยในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

           “การประกวดราคาครั้งนี้เป็นการประกวดราคานานาชาติโครงการแรกของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ.2560 โดยการรถไฟฯขอขอบคุณผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย)และทุกหน่วยงานรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่ช่วยดําเนินการจนแล้วเสร็จ ผมขอแสดงความยินดีและหวังว่าโครงการนี้จะสำเร็จราบรื่นตามแผนที่วางไว้”

           ด้าน สวี จงเสียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารCRSC กล่าวว่า ไทยและจีนเป็นมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน เมื่อเดือนที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยก็ได้ตอกย้ำเช่นกันว่า‘จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน’  

           โอกาสนี้ ขอขอบคุณกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทยที่ให้ความไว้วางใจและขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้การสนับสนุนทั้งนี้ CRSC เป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประเทศจีน และเป็นกำลังหลักในการสร้างรถไฟความเร็วสูงของจีนเรายึดมั่นในแนวทางร่วมสร้างสรรค์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เพื่อเดินหน้าพัฒนาหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์รอบด้านพร้อมกันนี้ ทาง CRSC ยินดีในการขับเคลื่อน Thailand 4.0 และ EEC ร่วมกันกับไทยเพื่อเดินหน้าขยายความร่วมมือทางด้านการคมนาคมตามหลักการสร้างสรรค์และแบ่งปันร่วมกันเพื่อเป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยงระหว่างจีนและไทย

           ทั้งนี้ CRSC ถือเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีระบบอาณัติสัญญาณรถไฟรายใหญ่ที่สุดของจีนและเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบควบคุมการขนส่งทางรางรายใหญ่ที่สุดในโลกมีห่วงโซ่อุตสาหกรรมระบบควบคุมการขนส่งทางรางที่ครบวงจร  

           “ ครั้งนี้ถือเป็นการก้าวเข้าสู่ตลาดไทยครั้งแรกของเรา ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นและทำให้ CRSC มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในประเทศไทยเพื่อก้าวสู่โครงการอื่นๆต่อไปในอนาคต”

           ทั้งนี้  โครงการจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพรมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 420 กิโลเมตร จำนวน 59  สถานี  โดยใช้ระบบอาณัติสัญญาณมาตรฐานETCS -1  แบ่งออกเป็น5 ช่วงได้แก่ 1. นครปฐม-หนองปลาไหล 2. หนองปลาไหล-หัวหิน3. หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 4.ประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย 5. บางสะพานน้อย-ชุมพร  คาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน กำหนดแล้วเสร็จประมาณช่วงเดือนธ.ค. 2565 โดยในอนาคต CRSC ยังมองถึงโอกาสในการเข้ามาลงทุนโครงการด้านอื่นๆในไทยเพิ่มเติม เช่นการก่อตั้งศูนย์ภูมิภาคเอเชียของ CRSC และการจัดตั้งศูนย์วิจัยทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในไทยอีกด้วย

Tags: