.jpg)
เวทีเสวนาความร่วมมือด้านภาพยนตร์จีน–อาเซียน (ประเทศไทย) 2025 สานพลัง เสริมการแลกเปลี่ยนด้านภาพยนตร์

30
June
2025

29
June
2025
เปิดเวทีเสวนาความร่วมมือด้านภาพยนตร์จีน–อาเซียน (ประเทศไทย) 2025 ขยายความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมภาพยนตร์

การประชุมเสวนาความร่วมมือด้านภาพยนตร์จีน–อาเซียน (ประเทศไทย) 2025 (2025China-ASEAN (Thailand) Film Cooperation Dialogue งานประชุมนัดสำคัญที่จัดขึ้นภายในงานสัปดาห์สื่ออาเซียน-จีนครั้งที่ 7 (The 7thASEAN-China Media Week) จัดโดยสำนักงานวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติจีน (NRTA), รัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีน กระทรวงวัฒนธรรม และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยได้รับเกียรติจาก นายหู ฟาน รองประธานเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประธานเปิดงาน ร่วมด้วย นายอุดม มัตสยะวนิชกูล ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นายสั่ว ย่าปิน ศาสตราจารย์จาก Communication University of China (CUC) พร้อมผู้ร่วมเสวนาในวงการภาพยนตร์ทั้งจากประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 27มิถุนายน 2568 ณ ห้อง Ballroom3 โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ

นายหูฟาน รองประธานเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า งานสัปดาห์ภาพยนตร์จีน-อาเซียน(ประเทศไทย) ในปีนี้ นอกจากจัดให้มีการฉายภาพยนตร์จีนและไทยรวม 10 เรื่องแล้วยังมีการจัดกิจกรรมความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม เช่นการเสวนาด้านภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมคำว่า “จีน-ไทยเป็นครอบครัวเดียวกัน” ให้หยั่งรากลึกในหัวใจของผู้คน พร้อมทั้งเผยแพร่วัฒนธรรมอันดีงาม และเล่าเรื่องจีน-ไทยให้โลกฟัง สู่การยกระดับความร่วมมือด้านภาพยนตร์ระหว่างจีน-ไทยและเสริมพลังให้กับความร่วมมือภาพยนตร์ระหว่างจีนและประเทศอาเซียนในระดับนานาชาติโดยกว่างซีพร้อมร่วมมือกับประเทศไทยในด้านการผลิตภาพยนตร์ด้วย AI เทคนิคพิเศษและการแปลบรรยายภาพยนตร์ ผ่านแพลตฟอร์มอย่าง China-ASEAN Information Harbor และแพลตฟอร์มฝึกอบรมโมเดล AI พหุภาษา เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในระดับภูมิภาค และเสริมสร้างพลังใหม่ให้กับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของทั้งสองฝ่ายอย่างยั่งยืน

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า การพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนและจีนในด้านนี้ จะนำมาซึ่งโอกาสในการเสริมสร้างความเข้าใจความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมถึงการขับเคลื่อนนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์โดยการประชุมเสวนาครั้งนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการแลกความคิดเห็น ประสบการณ์ระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิในวงการภาพยนตร์และสร้างความร่วมมือที่ยั่งยืนและเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการสร้างสรรค์ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนในด้านสื่อภาพยนตร์โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุน รวมถึงให้ทุนในการผลิตสื่อภาพยนตร์พร้อมเป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตในจีนที่ต้องการประสานงานผู้ผลิตหรือเอกชนในไทย เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทยและจีนสู่การสร้างวัฒนธรรมอันนำมาซึ่งความเข้าใจที่ตรงกัน และยกระดับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ให้เติบโตชึ้น

นายอุดม มัตสยะวนิชกูล ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ (TFO Thailand Film Office) กล่าวว่า ประเทศไทยถือว่าเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่กองถ่ายต่างประเทศเข้ามาถ่ายทำด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม และมีทีมงานที่เป็นมืออาชีพ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน พร้อมกับการอำนวยความสะดวกของภาครัฐได้แก่การส่งเสริมความร่วมมือในการถ่ายทำ โดยไม่มีการจำกัดวงเงินคืนต่อเนื่อง ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ฯลฯ ทำให้วันนี้ไทยมีความพร้อมในการต้อนรับผู้ผลิตภาพยนตร์ชาวต่างชาติให้เข้ามาถ่ายทำโดยให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของชาวต่างชาติมาเป็นอันดับหนึ่ง และด้วยศักยภาพและความพร้อมที่มีมั่นใจว่าจะทำให้ผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศได้รับความพึงพอใจในการเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย
ภายในงานยังมีเสวนาจากผู้ที่เกียวข้องในวงการภาพยนตร์ทั้งจากประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและขยายความร่วมมือสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์

นายวชิรพงษ์ ปรีชาว่องไวกุล รองประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ กล่าวว่าสมาพันธ์ฯ ที่มีสมาชิกกว่า 10 สมาคม ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบและดูแลความสัมพันธ์กับภาครัฐมาโดยตลอด โดยกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม เร็วๆ นี้ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลการจัดงานของจีนในประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น วันนี้โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรให้ภาพยนตร์จีนและภาพยนตร์ไทยมีการขยายความร่วมมือกันในด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้น หากพิจารณาจากวัฒนธรรมร่วมของคนไทย-คนจีน ทำให้รู้ว่า คอนเทนต์ของ 2 ประทศนี้สามารถสร้างโลกและไปมาหาสู่กันได้

นายทศพล ทิพย์ทินกร ผู้เขียนบทมากความสามารถจากค่าย GDH ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากจากภาพยนตร์เรื่อง “หลานม่า”กล่าวว่า งานประชุมครั้งนี้เปรียบเหมือนเป็นสภาฯ ให้คนในวงการภาพยนตร์ได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด และองค์ความรู้ระหว่างกัน ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีมาก กรณีภาพยนตร์ไทยเรื่อง “หลานม่า”ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในประเทศจีนนั้น ได้มีโอกาสไปดูการฉายในโรงภาพยนตร์ที่จีน ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ คนจีนดูแล้วเข้าใจเรื่องราวและมีความซาบซึ้งกับเนื้อหา ทั้งยังแสดงความชื่นชมทีมผู้สร้างและทีมงานที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างมากด้วยความที่เนื้อหาเกี่ยวกับครอบครัวและด้วยภาษาของหนัง จึงทำให้คนดูเข้าถึงได้ง่ายแม้ว่าจะต่างวัฒนธรรม ต่างภาษา ซึ่งจากการเปิดประชุมเสวนาในครั้งนี้ถือว่ามีประโยชน์อย่างมาก ที่สำคัญเปิดโอกาสในการทำงานอย่างที่ตั้งใจไว้ ซึ่งเป็นโอกาสดีทำให้สามารถสร้างคอนเทนต์ได้กว้างไกลขึ้น

นายปรัชญา ปิ่นแก้ว ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง“องค์บาก” และ “ต้มยำกุ้ง” กล่าวว่า ได้มีโอกาสไปร่วมงานด้านภาพยนตร์ที่จีนหลายครั้ง ได้เห็นความยิ่งใหญ่ และการทำงานที่เป็นระบบ เชื่อว่าถ้าประเทศไทยและจีนมีความร่วมมือกัน จะเกิดการค้นพบที่สำคัญคือ การสอดแทรกความงาม การพูดถึงชีวิตหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของคุณธรรม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจากการประชุมครั้งนี้จะทำให้เกิดความร่วมมือกันเป็นอย่างเป็นรูปธรรมในการสร้างภาพยนตร์นำไปสู่การยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ให้เติบโตขึ้น

นายเฉิน เต๋อเซิน ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฮ่องกงที่มีผลงานโดดเด่นหลายเรื่องและยังเคยได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมในงานประกาศรางวัลภาพยนตร์ฮ่องกงครั้งที่29 (HongKong Film Awards) จากภาพยนตร์เรื่อง “5 พยัคฆ์พิทักษ์ซุนยัดเซ็น” (Bodyguards andAssassins) กล่าวว่าเมื่อปีที่แล้วได้มีโอกาสเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์กึ่งสารคดีในประเทศไทยทุกสิ่งเป็นไปอย่างราบรื่นไม่ติดปัญหาอะไร ซึ่งหากภาพยนตร์ที่ทั้งประเทศไทยและจีนเดินทางเข้าไปถ่ายทำประสบความสำเร็จก็จะส่งให้เกิดความร่วมมืออย่างการจัดประชุมความร่วมมืออุตสาหกรรมสื่ออาเซียน-จีน2025 ในรูปแบบนี้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์โดยรวม

สำหรับสัปดาห์วัฒนธรรมภาพยนตร์จีน-อาเซียน (ประเทศไทย) 2025 ยังมีการจัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์จีน-ไทย จำนวน 10 เรื่อง แก่สาธารณชนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2568 ณ โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า เซ็นทรัลเวิลด์ ประกอบด้วย

ภาพยนตร์จีน จำนวน 5เรื่อง
· “HUANG WENXIU” หวงเหวินซิ่ว วันที่ 27 มิถุนายน 2568 เวลา 15:00-18:00 น. โรงภาพยนตร์ที่ 5
· “The Climbers” ผู้พิชิตยอดเขา วันที่ 27 มิถุนายน 2568 เวลา 19:30-21:35 น. โรงภาพยนตร์ที่ 4
· “One and Only” สเต็ปกล้า ท้าฝัน วันที่ 28 มิถุนายน 2568 เวลา 19:30-21:34 น. โรงภาพยนตร์ที่ 5
· “The Little StoveGuardian” ตำนานเทพเจ้าเตาไฟ วันที่ 28 มิถุนายน 2568 เวลา 19:30-20:55 น. โรงภาพยนตร์ที่ 4
· “Distance” ความห่างไกลระหว่างเรา วันที่ 3 กรกฎาคม 2568 เวลา 19:30-21:18 น. โรงภาพยนตร์ที่ 5
ภาพยนตร์ไทยจำนวน 5 เรื่อง
· HANUMAN White Monkey หนุมานวันที่ 29 มิถุนายน 2568 เวลา 19:30-21:00 น. โรงภาพยนตร์ที่ 4
· A TIME TO FLY บินล่าฝันวันที่ 29 มิถุนายน 2568 เวลา 19:30-21:06 น. โรงภาพยนตร์ที่ 5
· How To Make Millions Before GrandmaDies หลานม่า วันที่ 30 มิถุนายน 2568 เวลา 19:30-21:36 น. โรงภาพยนตร์ที่ 5
· Not Friends | เพื่อน(ไม่)สนิทวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เวลา 19:30-21:40 น. โรงภาพยนตร์ที่ 5
· OMG! Oh My Girl | รักจังวะ..ผิดจังหวะวันที่ 2 กรกฎาคม 2568 เวลา 19:30-21:34 น. โรงภาพยนตร์ที่ 5
