China-ASEAN Panorama

มองโอกาสผ่าน ‘การประชุมสองสภา’ จีน-อาเซียน จับมือเดินหน้าสู่ 3 ทศวรรษถัดไป

30

March

2022

20

March

2021

ผู้เขียน: ถาน เหล่ย นิตยสาร CAP

        ‘การประชุมสองสภา’ ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญแห่งปีที่ทั่วโลกจะได้รับรู้ถึงความเป็นไปของการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของจีนอย่างเป็นกลางและเท่าทันเหตุการณ์ การประชุมสองสภาปีนี้แตกต่างออกไปจากเดิมเล็กน้อย เนื่องจากเป็นปีเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 และวาระครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ ยิ่งทำให้การประชุมสองสภาปีนี้น่าจับตามองกว่าที่เคย

        หลังจากการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ชุดที่ 13 ครั้งที่ 4 สิ้นสุดลง  เราก็เริ่มมองเห็นภาพการพัฒนาของจีนในอีก 5 ปีข้างหน้าชัดเจนมากขึ้น นี่ไม่เพียงแต่เป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไปยังทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังทำให้ประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดกันอย่างอาเซียนมองเห็นถึงโอกาสทางความร่วมมือด้วยเช่นกัน

จีนเข้าสู่ห้วงเวลาของ “การประชุมสองสภา”

มุมมองของอาเซียนต่อ ‘การประชุมสองสภา’

        ปี 2563 อาเซียนขึ้นแท่นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 1 ของจีนเป็นครั้งแรก ทั้งสองฝ่ายกลายเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของกันและกัน ด้วยความร่วมมือที่กระชับแน่นขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เส้นทางการพัฒนาในอนาคตของจีนกลายเป็นประเด็นที่บรรดาประเทศอาเซียนต่างให้ความสนใจ

        หลายคนจับตามองการประชุมสองสภาครั้งนี้ เนื่องจากมองว่าจีนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วนำหน้าชาติอื่นๆ จึงอยากเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านี้จากจีนผ่านการประชุมสองสภา

        ปีที่ผ่านมา จีนเป็นประเทศเศรษฐกิจหลักของโลกเพียงแห่งเดียวที่มีการเติบโตเชิงบวก จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า ตัวเลข GDP ของจีน ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 101.59 ล้านล้านหยวน ขยายตัว 2.3% ในปี 2563

        นักวิชาการอาเซียนบางส่วนมองว่า การที่เศรษฐกิจจีนสามารถเติบโตเช่นนี้ได้ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 เป็นผลมาจากการทุ่มเทเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนจีน ปีที่ผ่านมาจีนได้สร้างผลงานยอดเยี่ยมทั้งในด้านการควบคุมการแพร่ระบาดและผลงานทางเศรษฐกิจ การควบคุมการแพร่ระบาดที่ประสบผลสำเร็จของจีนนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นในอนาคต ด้วยเหตุนี้แผนพัฒนาฯฉบับที่ 14 ของจีน จึงเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง

        “จีนได้สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นี่ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังช่วยดึงดูดการลงทุนจากภายนอกเข้ามาด้วย ซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนนี้จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคด้วยเช่นกัน” หลี่ เจี้ยนสง อดีตผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาธารณะ สำนักเลขาธิการอาเซียน กล่าว

        นอกจากนี้ ประเด็นเรื่อง RCEP ในการประชุมสองสภาก็ได้รับความสนใจจากอาเซียนเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันจีนได้ลงนามรับรองความตกลง RCEP แล้วเรียบร้อย พร้อมทั้งหวังว่าประเทศที่เกี่ยวข้องจะช่วยกันผลักดันให้ RCEP มีความคืบหน้าโดยเร็ว และเมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้ เชื่อว่าเอเชียจะใช้ความตกลงนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสู่ความตกลงการค้าเสรีที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคช่วงยุคหลังโรคระบาด

จีน-อาเซียน จับมือเดินหน้าสู่ ‘3 ทศวรรษถัดไป’

        ปี 2564 เป็นวาระครบ 30 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์คู่เจรจาจีน-อาเซียน นับเป็นอีกก้าวสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย

จีนเข้าสู่ห้วงเวลาของ “การประชุมสองสภา”

        หวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวระหว่างการประชุมสองสภาว่า “จีนและอาเซียนได้เริ่มต้นความสัมพันธ์คู่เจรจาขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน จนกระทั่งได้พัฒนามาสู่แนวหน้าของความร่วมมือระดับภูมิภาคในปัจจุบัน คำสอนขงจื่อกล่าวไว้ว่า “30 ปี ตั้งหลักได้มั่นคง” (三十而立) ผ่านร้อนผ่านหนาวมา 30 ปี จีนและอาเซียนได้ก่อเกิดเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม กลายเป็นมิตรประเทศที่มีโชคชะตาร่วมกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกัน ก่อเกิดเป็นภาพของการร่วมกันนำพาทวีปเอเชียไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ร่วมสร้างอนาคตไปด้วยกัน

        ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีนกับอาเซียน เริ่มต้นจากศูนย์ไปหนึ่ง แล้วค่อยๆพัฒนาต่อยอดขึ้นเรื่อยๆ จนกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จและมีพลวัตมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน มูลค่าการค้าระหว่างจีนกับอาเซียนอยู่ที่เพียง 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโรคระบาดในช่วงที่ผ่านมา แต่เศรษฐกิจการค้าระหว่างสองฝ่ายก็ยังเป็นไปในเชิงบวก

        จากสถิติของสำนักงานศุลกากรจีน ณ สิ้นปี 2563 มูลค่าการค้าระหว่างจีนและอาเซียนอยู่ที่ 4.74 ล้านล้านหยวน หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 684,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6.7%  ปีที่ผ่านมายอดนำเข้าส่งออกสินค้าอาเซียนของจีนพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 อาเซียนได้แซงหน้าสหภาพยุโรปขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของจีน

จีนสร้างคุณูปการสำคัญด้านการแพทย์และการวิจัยพัฒนาวัคซีน

        หวัง อี้ กล่าวว่า ที่จุดเริ่มต้นใหม่นี้ จีนยินดีจะร่วมมือกับอาเซียนสร้างประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และมุ่งสู่ 3 ทศวรรษถัดไปที่ยอดเยี่ยมกว่าที่เคย

        ด้านการต่อสู้กับโรคระบาด หวัง อี้ กล่าวว่า จีนพร้อมจะให้การสนับสนุนด้านการต่อต้านการแพร่ระบาดแก่อาเซียนต่อไป โดยขณะนี้จีนกำลังเดินหน้าจัดหาวัคซีนต้านโควิดให้กับประเทศอาเซียน รวมทั้งผลักดันการสร้างศูนย์กลางกระจายวัคซีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย และจะยังคงมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของอาเซียนอย่างเต็มที่ต่อไป

        ด้านการเสริมสร้างความร่วมมือ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน  จีนจะสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่ให้สอดคล้องกับ “กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน” (ASEAN Comprehensive Recovery Framework : ACRF) ผลักดันให้ RCEP มีผลบังคับใช้โดยเร็ว  ส่งเสริมกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (MLC) ที่มีอยู่ สร้างจุดเติบโตใหม่ทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาที่ยั่งยืน และสาขาอื่นๆ เพิ่มเติม

Tags: