China-ASEAN Panorama

จีน-อาเซียน แบ่งปันประสบการณ์บรรเทาความยากจน มุ่งสู่เส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

15

March

2022

25

June

2021

ผู้เขียน กวน ชิวอวิ้น นิตยสาร CAP

        พื้นที่ชนบทอันห่างไกลบนเกาะมินดาเนาในฟิลิปปินส์ เกาะโกโมโดที่ถูกทิ้งร้างในอินโดนีเซียหมู่บ้านยากจนล้าหลังในกัมพูชา ชุมชนชาวดอยในเชียงรายซึ่งมีประชากรที่ได้รับการศึกษาไม่ถึง8% ในไทย ...“ความยากจนข้นแค้น” เคยเป็นภาพจำของสถานที่ซึ่งมีทัศนียภาพอันงดงามแต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่ล้าหลังเหล่านี้เมื่ออาเซียนต้องการแสวงหาแนวทางการบรรเทาความยากจนและการพัฒนา จีนซึ่งเป็นประเทศข้างเคียงและอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาที่คล้ายคลึงกันดูจะเป็นต้นแบบที่เหมาะสมที่อาเซียนสามารถนำมาปรับใช้ได้

ผู้นำชุมชนจากอาเซียนเรียนรู้ประสบการณ์การแก้ไขปัญหาความยากจนจากจีน

       นอกจากนี้ความพยายามในช่วงที่ผ่านมายังได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์คู่เจรจาการดึงศักยภาพของชุมชนในท้องถิ่น และการเสริมสร้างความร่วมมือทางอุตสาหกรรมระหว่างจีนและอาเซียนกำลังช่วยเร่งให้กระบวนการบรรเทาความยากจนของแต่ละประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล

จีน-อาเซียน ร่วมกันแก้ไขปัญหาความยากจน บนเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

       ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศในอาเซียนได้เรียนรู้ประสบการณ์การแก้ไขปัญหาความยากจนมากมายจากจีนตั้งแต่การบรรเทาความยากจนผ่านการผลักดันภาคอุตสาหกรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยว การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีไปจนถึงการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตโมเดลการขจัดความยากจนแบบตรงจุดของจีนได้ถูกนำมาใช้งานจริงแล้วในหลายพื้นที่ ทำให้ผู้คนในอาเซียนเข้าถึงภูมิปัญญาและความสามารถในการบรรเทาความยากจนของจีนมากยิ่งขึ้น

       หากใครที่ได้ติดตามข่าวความสำเร็จในการขจัดความยากจนของจีนจะต้องเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘ช่วยลดความยากจนเกื้อหนุนอุตสาหกรรม นำพาผู้คนไปสู่ชีวิตที่ดี’ หมู่บ้านสวายอัมเพีย พื้นที่นำร่องโครงการความร่วมมือเพื่อช่วยบรรเทาความยากจนในกัมพูชาของจีน ถือเป็นหนึ่งในชุมชนตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงคำกล่าวนี้ได้เป็นอย่างดี

       เมื่อก้าวเข้ามาใน ‘หมู่บ้านสวายอัมเพีย’ สิ่งแรกที่จะได้เห็นคือโรงงานใหม่เอี่ยม2 หลัง สถานที่ตั้งของวิสาหกิจชุมชน ที่ทีมโครงการจากจีนและรัฐบาลกัมพูชาร่วมกันสร้างขึ้นชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่เป็นคนพิการ สตรี เด็กและคนชรา ทีมโครงการจึงได้เสนอให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมโดยการนำแปลงที่ดินส่วนหนึ่งมาสร้างเป็นโรงงานผลิตน้ำยาทำความสะอาด จำนวน 2 หลัง ปัจจุบันโรงงานดังกล่าวมีกำลังการผลิตสูงสุดอยู่ที่1.5 แสนขวดต่อปี มูลค่าการผลิต 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องคาดว่าคำสั่งซื้อจากทั่วโลกจะตามมามากขึ้น

คณะจากอาเซียนเดินทางไปเยี่ยมชมหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจนในตำบลซินเจียงนครหนานหนิง เขตฯกว่างซีจ้วง ประเทศจีน

       อีกด้านหนึ่งที่ ‘หมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดกว๋างนาม’ ของเวียดนามชาวบ้านได้เริ่มหันมาจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์และการไลฟ์สด “ปัจจุบันทีมช่วยเหลือจากจีนได้สร้างศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาความยากจนด้วยอีคอมเมิร์ซ2 แห่งขึ้นในหมู่บ้านในกว๋างนาม พร้อมทั้งสอนเทคนิคการไลฟ์สดและการขายผ่านอีคอมเมิร์ซให้แก่ชาวบ้านทำให้รายได้ของผู้คนในท้องที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี” รองศาสตราจารย์ติงจ้งเซิ่งจากวิทยาลัยการเงินเวียดนามกล่าว

       นอกจากนี้ ทางการเวียดนามยังได้ร่วมมือกับ‘ลาซาด้า’ เปิดตัว ‘ร้านค้าบรรเทาความยากจนในต่างประเทศ’ ช่วยให้ผลิตผลทางการเกษตรของเกษตรกรในท้องถิ่นเช่น มะม่วง มันสำปะหลัง ยางพารา และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ มีช่องทางจัดจำหน่ายไปยังต่างประเทศมากขึ้นช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในท้องที่

       ‘โรงเรียนกลางทุ่งนา’เป็นโมเดลการบรรเทาความยากจนแนวใหม่ที่ Sulis Jorini อธิบดีกรมพัฒนาชนบท กระทรวงหมู่บ้าน การพัฒนาพื้นที่ทุรกันดารและการอพยพถิ่นฐานของอินโดนีเซีย(Ministry ofVillage, Development of Disadvantaged Region and Transmigration) ให้ความสนใจอย่างมาก หลังจากได้เดินทางไปดูงานที่อำเภอหรงอัน เมืองหลิ่วโจว ประเทศจีนเมื่อปี 2020

แบบแปลนหมู่บ้านบรรเทาความยากจนที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างภายในนิคมอุตสาหกรรมจีน(ชินโจว)-มาเลเซีย

       Sulis Jorini กล่าวว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนของจีนนั้นจะให้ความสำคัญกับ ‘การบรรเทาความยากจน เริ่มต้นจากการศึกษา’ โดยใช้ “ผืนนา” เป็นเสมือนห้องเรียน สอนองค์ความรู้ทางการเกษตรยุคใหม่ให้กับเกษตรกรซึ่งในอนาคตอินโดนีเซียจะได้นำโมเดลนี้ไปปรับใช้ด้วยเช่นกัน

       ขณะเดียวกัน หลังจากได้เรียนรู้ประสบการณ์บรรเทาความยากจนด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากจีน‘บ้านจะแล’ ในจังหวัดเชียงรายได้อาศัยน้ำตกห้วยแม่ซ้ายในเขตป่าสงวนข้างเคียงในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมขนพลิกโฉมหมู่บ้านที่เคยล้าหลังให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ จนทำให้ปัจจุบันรายได้เฉลี่ยต่อปีของคนในท้องที่เกินกว่า13,000 บาท

       เมื่อเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนจีนและอาเซียนต่างตระหนักดีว่า มีเพียงการยึดมั่นในแนวคิดการบรรเทาความยากจนบนเส้นทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนเท่านั้นที่จะทำให้ผู้คนที่ประสบปัญหาความยากจนในภูมิภาคจีน-อาเซียน สามารถร่วมแบ่งปันผลแห่งการพัฒนาร่วมกันและส่งต่อผลการพัฒนานี้ไปยังรุ่นต่อไปได้

ตัวแทนจากกัมพูชาถ่ายภาพกับสวนกล้วยของกลุ่มGuangxi Jinsui Agriculture Group ขณะเดินทางมาดูงานในจีน

จะทำอย่างไร เมื่อคนกลับมายากจนอีกครั้งเพราะโควิด?

       สำหรับงานด้านการบรรเทาความยากจนการช่วยเหลือผู้คนให้หลุดพ้นจาก “ความยากจนเชิงสัมบูรณ์” (Absolute Poverty) ยังไม่ใช่บทสรุปความสำเร็จ เนื่องจากผู้คนยังมีโอกาสกลับมายากจนได้อีกจากภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขต่างๆจากสถานการณ์ที่ทั่วโลกยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การกลับมายากจนอีกครั้งเพราะโควิดกำลังเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่กระทบต่องานด้านการบรรเทาความยากจนทั่วโลกและจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน

       ตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) เมื่อเดือนมี.ค.2564 จากผลกระทบของโควิด-19 ภาพรวมเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงน่าเป็นห่วงระดับการบริโภคของบางประเทศในภูมิภาคลดกลับไปสู่ระดับเส้นมาตรฐานความยากจนในอดีต กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิดจนกลับมายากจนอีกครั้งอาจมีมากถึง30 ล้านคน สถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน การกระจายตัวที่รวดเร็วและยากต่อการรับมือล้วนแต่มีส่วนทำให้ปฏิบัติการบรรเทาความยากจนทำได้ยากลำบากขึ้น

       แม้ว่าสถานการณ์จะไม่เป็นไปในทิศทางที่ดีนักแต่ผู้ที่คลุกคลีกับการแก้ไขปัญหาความยากจนในอาเซียนมาเป็นเวลานานก็ยังเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาความยากจนท่ามกลางสถานการณ์โควิด“การกลับมายากจนอีกครั้งเพราะโควิดเป็นปัญหาร่วมกันของทั่วโลก ตราบใดที่แต่ละประเทศร่วมกันเสริมสร้างความร่วมมือและแบ่งปันประสบการณ์บนพื้นฐานของการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโดยเฉพาะการส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีไปใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลดปัญหาความยากจนชีวิตของผู้คนจะได้รับการคุ้มครองและยกระดับ” Isabel บรรณาธิการ นสพ. Manila Bulletin ในฟิลิปปินส์ กล่าว

โครงการบรรเทาความยากจนของจีนเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับการลดความยากจนในอาเซียน

       ในประเด็นนี้ มาตรการรับมือการกลับมายากจนอีกครั้งเพราะโควิดของมาเลเซียและฟิลิปปินส์นับว่ามีความน่าสนใจรัฐบาลมาเลเซียได้จัดให้มีจุดตรวจสอบข้อมูลในแต่ละชุมชน เพื่อบันทึกข้อมูลของผู้ที่ได้ผลกระทบจากโควิดมอบเงินช่วยเหลือและทำประกันให้กับประชาชน ช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพขั้นต่ำของผู้ที่ได้รับผลกระทบ

       ด้านฟิลิปปินส์ได้นำเทคโนโลยีข้าวลูกผสมสายพันธุ์“Green SuperRice” (GSR) จากจีนมาพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งมีดินภูเขาไฟที่มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์และสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนหลังจากที่เทคโนโลยีดังกล่าวถูกนำมาใช้ ส่งผลให้ข้าวที่บานาเวให้ผลผลิตสูงถึง 2.4ล้านตันต่อปี แม้ว่าต่อมาจะเผชิญกับวิกฤตโควิด-19แต่รายได้ของเกษตรกรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

       สำหรับประเทศจีน ปรากฏการณ์การกลับมายากจนอีกครั้งหลังโควิดส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตกที่เคยหลุดพ้นจากความยากจนมาแล้วซึ่งทางการจีนได้ดำเนินงานด้านที่เกี่ยวข้องโดยยึดหลักการพื้นฐานของ "การรับประกันคุณภาพชีวิตรับประกันค่าจ้าง และการรับประกันการดำเนินงาน" มอบสิทธิพิเศษให้กับสถานประกอบการที่ดำเนินงานด้านการบรรเทาความยากจนให้สามารถขอคืนเงินหรือเลื่อนการชำระเบี้ยประกันสังคมออกไปได้ ตลอดจนสนับสนุนให้คนจนที่ไม่สามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้ลงมือทำแปลงเกษตรและจัดเวิร์คช็อปภายในพื้นที่ที่มีอยู่ ซึ่งเป็นโครงการที่ลงทุนน้อยใช้ระยะเวลาสั้นและเห็นผลเร็ว

เทคโนโลยีข้าวลูกผสมสายพันธุ์“Green SuperRice” (GSR) จากจีน ช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรในฟิลิปปินส์

       การบรรเทาความยากจนเป็นงานที่กินเวลาต่อเนื่องยาวนานผลกระทบจากโควิด ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ และการขาดองค์ทักษะความรู้ล้วนแต่ส่งผลให้ปัจจุบันอัตราการกลับมายากจนโดยรวมทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับที่สูงอยู่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกลไกกำกับดูแลที่เหมาะสมและได้ผลในระยะยาว

       จะทำอย่างไรให้มั่นใจได้ว่าผลลัพธ์ของการลดความยากจนจะคงอยู่ได้ในระยะยาว และป้องกันความเสี่ยงของการกลับไปสู่ความยากจนในอนาคตจาง ลี่จวิน คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยชนชาติจีน (Minzu University of China) และ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันพัฒนาชายแดนและยกระดับคุณภาพชีวิตของจีน (ChinaInstitute for Vitalizing Border Areas and Enriching the People) กล่าวว่าในแง่หนึ่งเราต้องกระตุ้นการมีส่วนร่วมของคนจนในพื้นที่ ปรับปรุงทักษะการผลิตและศักยภาพในการแข่งขันของพวกเขาผ่านการฝึกอบรมคุณภาพการทำงานการฝึกฝนทักษะอาชีพ และการบ่มเพาะองค์ความรู้ทางธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้งานรวมถึงสร้างกลไกการช่วยเหลือต่างๆจากภายนอกเข้ามาช่วยส่งเสริมกลไกบรรเทาความยากจนภายในท้องที่ขณะเดียวกัน ต้องไม่หยุดพัฒนาต่อยอด ค้นหาวิธีที่เหมาะสมในการลดความยากจน ปรับปรุงระบบและกลไกในการดำเนินนโยบายเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในทางปฏิบัติอุดช่องโหว่ของการบรรเทาความยากจนในภาคอุตสาหกรรม ใช้กองทุนบรรเทาความยากจนให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดตลอดจนเร่งแสวงหาโมเดลการพัฒนาในรูปแบบการเปลี่ยนทรัพยากรให้เป็นสินทรัพย์ เปลี่ยนเงินทุนเป็นหุ้นและเปลี่ยนให้เกษตรกรกลายเป็นผู้ถือหุ้น

ผู้แทนชุมชนพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์การแก้ไขปัญหาความยากจนกับคณะจากอาเซียนที่เดินทางมาศึกษาดูงานในจีน

       ความยากจนเป็นเสมือนโรคร้ายที่มนุษยชาติหวังจะรักษาให้หายขาดการขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปนับเป็นความปรารถนาที่ผู้คนต่างมุ่งแสวงหาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยสำหรับทั่วโลกแล้ว เรื่องราวการขจัดความยากของจีนและอาเซียน ไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องเล่าแห่งความสำเร็จแต่เป็นดั่งความหวังและอนาคต จีนและอาเซียนจะมุ่งมั่นแบ่งปันทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติในการบรรเทาความยากจนกับทั่วโลกต่อไปเผชิญกับความท้าทายใหม่ของการจัดการความยากจนทั่วโลก เพื่อร่วมสร้างชุมชนแห่งโชคชะตาร่วมกันที่ไร้ความยากจนอย่างยั่งยืน

Tags: