Chongzuo

ยกระดับเส้นทางการค้า ILSTC ร่วมสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือจีน-ไทย

17

March

2022

11

February

2020

        เมืองฉงจั่วตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพรมแดนติดกับเวียดนามเป็นเมืองข้อต่อสำคัญทางตอนใต้ในข้อริเริ่ม“หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”และเป็นหน้าต่างที่เปิดไปสู่ความร่วมมือกับอาเซียนที่สำคัญของจีนรวมถึงเป็นเมืองการค้าชายแดนอันดับ 1 ของจีน

ภาพโครงการเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมน้ำตาลของกลุ่มมิตรผลที่ตั้งอยู่ในนิคมฉงจั่วฯ ช่างภาพ: ต่ง รุ่ยเฉียง

        นิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทยฉงจั่ว ตั้งอยู่ทางตะวันออกและเหนือของเมืองฉงจั่ว อยู่ห่างจากกรุงฮานอยประเทศเวียดนาม 240 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประเทศไทย 1,700 กิโลเมตร ห่างจากท่าเรืออ่าวเป่ยปู้ 130 กิโลเมตร ห่างจากฮ่องกง 800กิโลเมตร และห่างจากนครหนานหนิง 70 กิโลเมตร นิคมฉงจั่วฯ มีเนื้อที่ 100ตารางกิโลเมตร เป็นนิคมฯที่มณฑลกว่างซีให้ความสำคัญต่อการพัฒนาจัดตั้งขึ้นเพื่อเข้าร่วมข้อริเริ่ม“หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”และกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีน-อาเซียน

        ปี 2562ที่ผ่านมา เป็นวาระครบรอบ 16 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์จีน-อาเซียนและครบรอบ 6 ปี การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ภายใต้ความร่วมมือเพื่อประสานข้อริเริ่ม“หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” เข้ากับการสร้าง “เส้นทางการค้าเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่”(New International Land-Sea Trade Corridor – ILSTC) ระหว่างจีนไทยและอาเซียน นิคมฉงจั่วฯ จะนำข้อได้เปรียบที่โดดเด่นของทั้งสองฝ่ายมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่และจะยึดมั่นในแนวคิดการพัฒนาแบบเปิดกว้าง มุ่งเน้นไปที่การสร้าง“หนึ่งเขตฐาน สามศูนย์กลาง”(เขตสาธิตความร่วมมือด้านกำลังการผลิตระหว่างประเทศ,ศูนย์กลางการค้าข้ามพรมแดน, ศูนย์กลางข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data และศูนย์กลางแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพ การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม) ร่วมส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาอุตสาหกรรมจีน-ไทยพร้อมผลักดันให้เกิดการขยายขอบเขตความร่วมมือที่หลากหลายและลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างจีน-ไทย

ด่านโหย่วอี้กวานมณฑลกว่างซี ประเทศจีน

เขตสาธิตความร่วมมือด้านกำลังการผลิตระหว่างประเทศ

        นิคมฉงจั่วฯ พร้อมมุ่งสู่การเป็นเขตสาธิตความร่วมมือด้านกำลังการผลิตระหว่างประเทศโดยชูจุดเด่นด้านอุตสาหกรรมพลังงานใหม่ อุตสาหกรรมวัสดุใหม่ อุตสาหกรรมอาหารอาเซียนอุตสาหกรรมน้ำตาลหมุนเวียน อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และอุตสาหกรรมบริการท่องเที่ยวและที่พักสไตล์ไทยซึ่งเป็น 6 อุตสาหกรรมเด่นของนิคมฯ ผ่านการใช้โมเดลสร้างนิคมฯในนิคมฯ และการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากจากทรัพยากรและตลาดทั้งในและนอกประเทศพร้อมอาศัยความร่วมมือภายใต้แพลตฟอร์ม “2 ประเทศหลายนิคมฯ”ซึ่งประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทยฉงจั่ว, นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง, นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ, นิคมอุตสาหกรรมสยามอีสเทิร์นอินดัสเตรียลพาร์ค,นิคมอุตสาหกรรมระยอง (ไทย-จีน), เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหารของไทยรวมไปถึงการสนับสนุนจากหน่วยงานในจีน อาทิ เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงเมืองฉงจั่ว,นิคมอุตสาหกรรมน้ำตาลจีน, เขตความร่วมมืออุตสาหกรรมระหว่างสองช่องแคบไต้หวันในนิคมฉงจั่วฯ,เขตนำร่องการปฏิรูปการเงินตามแนวชายแดนกว่างซี, เขตนำร่องการพัฒนาและเปิดสู่ภายนอกเมืองผิงเสียงและเขตทดลองการค้าเสรีกว่างซี

ศูนย์กลางการค้าข้ามพรมแดน

       ทั้งไทยและจีนต่างพรั่งพร้อมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุ  อุดมสมบูรณ์ด้วยผลไม้เมืองร้อนธัญพืชเปลือกแข็ง น้ำตาลจากอ้อย น้ำยางและไม้ยางพารารวมถึงผลิตผลพลอยได้จากการเกษตรมากมาย ซึ่งนิคมฉงจั่วฯพร้อมนำศักยภาพดังกล่าวมาผนวกกับจุดเด่นด้านท่าเรือที่มากมายตลอดจนพิธีการศุลกากรที่สะดวกรวดเร็วการเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์เย็น (Cold Chain Logistics) รวมไปถึงข้อได้เปรียบด้านนโยบายสิทธิประโยชน์อื่นๆของเมืองฉงจั่วเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่การแปรรูปและจัดจำหน่ายไปขายทั่วทั้งจีนและประเทศต่างๆในอาเซียนโดยอาศัยประโยชน์จากแพลตฟอร์มโลจิสติกส์ที่มี เช่น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ รวมถึงข้อได้เปรียบด้านช่องทางโลจิสติกส์ทั้งทางอากาศ ทางน้ำ ทางบก และทางรถไฟของเมืองฉงจั่ว เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ “ซื้อจากจีน ขายทั่วจีน ซื้อจากอาเซียน ขายทั่วอาเซียน”สร้างนิคมฯให้เป็นศูนย์กลางการค้าข้ามพรมแดนสำหรับเครื่องดื่มชูกำลังอุตสาหกรรมน้ำตาล ผลไม้ ผลิตผลพลอยได้จากการเกษตร และอุตสาหกรรมไม้ในอาเซียน

ศูนย์กลางข้อมูลขนาดใหญ่(BigData)

      นิคมฉงจั่วฯพร้อมใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มการให้บริการสารสนเทศจีน-อาเซียน (China-ASEAN Information Harbor) เพื่อเร่งผลักดันการสร้างนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศระหว่างนิคมฉงจั่วฯกับไทย ใน 5 แพลตฟอร์ม ได้แก่ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมการแบ่งปันข้อมูล การให้บริการทางเศรษฐกิจการค้า ความร่วมมือทางเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์ การเงินและเทคโนโลยี การซื้อขายสินค้า การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจสุขภาพกับการรักษาพยาบาล และการผลิตอัจฉริยะ พร้อมกับเร่งผลักดันให้เกิดการสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลขนาดใหญ่(Big Data) ในนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะของทั้งสองประเทศ เพื่อให้นิคมฉงจั่วฯและไทยสามารถร่วมแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศและเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างแท้จริง ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ พร้อมผลักดันให้นิคมมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางข้อมูลขนาดใหญ่(Big Data) ระหว่างจีน-ไทย

ด่านการค้าชายแดนผู่จ้ายประเทศจีน

ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม

        จากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของจำนวนนักท่องเที่ยวจีน-ไทยรวมถึงการแลกเปลี่ยนด้านศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา และศักยภาพความพร้อมทางด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพของไทยนิคมฉงจั่วฯวางแผนจะพัฒนาพื้นที่ไทยทาวน์ขนาดย่อมภายในนิคมฯ เพื่อนำศิลปวัฒนธรรมการแสดงการแพทย์ การดูแลสุขภาพและกีฬา การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และอุตสาหกรรมการบริการที่ทันสมัยของไทยมารวมไว้ที่นิคมฯก้าวสู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะครบวงจร ขณะเดียวกัน นิคมฯพร้อมจะนำศิลปวัฒนธรรมการแสดงการแพทย์ การดูแลสุขภาพและกีฬา การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และอุตสาหกรรมการบริการที่ทันสมัยของเมืองฉงจั่วรวมถึงมณฑลกว่างซีและทั่วทั้งประเทศจีนเผยแพร่สู่ประเทศไทย เพื่อให้นิคมฯกลายเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนด้านสุขภาพการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทย

      ยินดีต้อนรับทุกท่านมาที่เมืองแห่งมนต์เสน่ห์ฉงจั่วมาเยี่ยมเยือนนิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทย ฉงจั่วและเขตความร่วมมืออุตสาหกรรมระหว่างสองช่องแคบไต้หวันในนิคมฉงจั่วฯ พร้อมศึกษาดูงานและลงทุนปักฐานความสำเร็จที่ฉงจั่ว

Tags: